นักเรียนายสิบแผนที่

  • คอร์สอยู่ประจำ ตลอดปี 62 สำหรับน้องเคยผ่านรอบแรก

  • คอร์สอยู่ประจำ ตลอดปี 62 ไปโรงเรียน

  • นักเรียนนายสิบแผนที่

    โรงเรียนแผนที่  กรมแผนที่ทหาร

    stsd

     

    ประวัติโรงเรียนแผนที่

    รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยเริ่มแรกของการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้ทันกับความจำเป็นของสถานการณ์ที่กำลังคุกคามต่อเอกราชของสยามในยุคนั้น  การทำแผนที่แผนใหม่ซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาและอุปกรณ์เครื่องมือของประเทศฝ่ายตะวันตกก็ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลนี้ด้วยเช่นกัน

    หลังจากที่เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู ชวาและอินเดีย ใน พ.ศ.2416 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ที่เคยทำหน้าที่รองกงสุลอังกฤษในเมืองไทยมาก่อนนั้น กลับเข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ด้วย

    นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำในการทำนุบำรุงบ้านเมืองด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งทรงเห็นว่ามีประโยชน์มาก ดังนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้น ใน พ.ศ.2418 มี นายเฮนรี่  อลาบาสเตอร์ นั้นเองเป็นหัวหน้า มีกัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอีก 4 นาย ได้แก่ ม.ร.ว.แดง  เทวาธิราช  นายทัด  ศิริสัมพันธ์  นายสุด  และ ม.ร.ว.เฉลิม  เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ  เพื่อตัดถนนเจริญกรุงและถนนอื่นๆ อีกหลายสาย  ต่อจากนั้นก็ได้ทำแผนที่วางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง  และแผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม  เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือและเป็นแนวทางในการป้องกันฝั่งทะเล  เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการรุกรานจากต่างประเทศ

    ครั้น  พ.ศ.2423  รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยาม  เพื่อให้กองทำแผนที่  กรมทำแผนที่แห่งอินเดีย  ซึ่งมีกัปตัน เอช.ฮิล เป็นหัวหน้า  และนายเจมส์  เอฟแมคคาร์ธี  เป็นผู้ช่วย  เดินทางผ่านเข้ามาในประเทศสยามเพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่องจากประเทศอินเดีย  ผ่านพม่า เข้าเขตประเทศสยามทางจังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าบรรจบกับแผนที่ทางทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  ทั้งขอสร้างหมุดหลักฐานทางแผนที่ภูเขาทอง  และที่พระปฐมเจดีย์  เพื่อใช้เป็นจุดตรวจสอบด้วย  ครั้งนั้นข้าราชการไทยหวั่นวิตกเป็นอันมาก  เนื่องจากได้สังเกตเห็นมาแล้วว่า  ประเทศนักล่าอาณานิคมมักขอเข้าสำรวจก่อน  แล้วจึงถือโอกาสเข้ายึดครองในภายหลัง

    อย่างไรก็ตาม  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว  จึงทรงโปรดเกล้าฯ อนุโลมตามคำแนะนำของนายอลาบาสเตอร์  ที่ให้ยินยอมตามคำขอของรัฐบาลอังกฤษ  ทั้งทรงเห็นชอบด้วยกับการที่จะเจรจาทาบทามตัวพนักงานทำแผนที่อังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อเป็นการวางรากฐานการทำแผนที่ของไทยเองด้วย   ผลที่สุดปรากฎว่า  นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี  ตกลงยินยอมเข้ารับราชการสยาม  นับแต่วันที่ 1  ตุลาคม พ.ศ.2424  โดยสังกัดฝ่ายพระกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่บัญชาการหัวเมืองและทหารฝ่ายใต้ในขณะนั้น  แต่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง  คือ  พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)  ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก

    ภารกิจของนายเจมส์  แมคคาร์ธี  ในระยะแรกได้แก่  การทำแผนที่เฉพาะกิจตามความต้องการของหน่วยราชการต่างๆ เช่น แผนที่ทางโทรเลขระหว่างระแหงถึงมะละแหม่ง  แผนที่วิวาทชายแดนระหว่างอำเภอรามันปัตตานี  กับเขตติดต่อแม่น้ำเประของอังกฤษ  และแผนที่แม่น้ำแม่ติ่น  แดนตากต่อเชียงใหม่  เพื่อประกอบกรณีพิพาทเรื่องเก็บค่าตอ  เป็นต้น  เจ้าหน้าที่กองสำรวจและทำแผนที่ระยะนี้  ก็ได้แก่  ข้าราชการในกรมทหารมหาดเล็กนั้นเอง

    เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องใช้แผนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนกระทั้งกองทำแผนที่เพียงกองเดียว  ไม่สามารถรับภารกิจทั้งสิ้นได้  พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร  จึงทรงได้รับพระราชโองการให้ตรัสเรียกนายแมคคาร์ธีมาปรึกษา  และร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนฝึกสอนชาวสยามให้ทำแผนที่ขึ้นในระยะปลายปี พ.ศ.2425 โดยเกณฑ์เอานายทหารรักษาพระองค์  30  นาย  เข้าเป็นนักเรียนรุ่นแรก  นายแมคคาร์ธี เข้ารับหน้าที่ เป็นครูใหญ่  มีนายเฮนรี่ นิโกเล  เป็นครูรอง  ทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถวกองทหารมหาดเล็ก ข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวังและนำนักเรียนออกมาฝึกทำแผนที่ทั้งในกรุงเทพฯ  และมณฑลอื่นๆ

    โรงเรียนแผนที่ได้ดำเนินการมาได้ราวสามปี  ได้จำนวนผู้สำเร็จการศึกษามากพอที่จะตั้งหน่วยราชการขึ้นได้จึงได้ประกาศพระบรมราชโองการแยกเหล่านักสำรวจออกจากสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์  ตั้งขึ้นเป็นกรมแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428  (ตรงกับวันพฤหัสบดี แรมเก้าค่ำ ปีระกา  สัปตศก จ.ศ.1247) นายแมคคาร์ธี ซึ่งได้รับพระราชทางยศและบรรดาศักดิ์  เป็นร้อยเอกพระวิภาคภูวดล  นั้น ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้ากรม  ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยมีพระองค์เจ้าดิศวรกุมารเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ที่ทำการของกรมในระยะแรกนี้ตั้งอยู่ที่เดียวกับโรงเรียนแผนที่นั้นเอง การแบ่งส่วนราชการในยุคนั้นยังไม่ลงตัวนัก เจ้าหน้าที่กองทำแผนที่ซึ่งจะออกสำรวจพื้นที่ตามหัวเมืองระหว่างเดือนตุลาคมถึงต้นฤดูฝน แล้วกลับมาทำการ วาด เขียน ร่าง และพิมพ์แผนที่ในสำนักงานระหว่างฤดูฝนกับผู้ทำการสอนและเรียนในโรงเรียนแผนที่เป็นบุคคลชุดเดียวกัน ผลงานสำคัญที่ควรกล่าวถึงในช่วงนี้คือ การรวบรวมข้อมูลภูมิประเทศจัดทำแผนที่พระราชอาณาจักรสยามอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนแผนที่มณฑลต่างๆ  ทั้งยังได้ทำการสำรวจวางโครงข่ายสามเหลี่ยมรอบเขตชายแดนไทยทางภาคเหนือ  ซึ่งต้องหยุดชะงักลงเมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศฝรั่งเศสใน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

    ใน พ.ศ.2435  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่  โดยแยกงานออกเป็น 12 กระทรวง   กรมทำแผนที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอยู่ระยะหนึ่ง  จึงได้โอนไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ  งานทำแผนที่ในระยะนี้จึงหนักไปในด้านทำแผนที่โฉนด  แผนที่การใช้ที่ดินในมณฑลต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในทางการปกครอง  การเก็บภาษีอากร  และการพิจารณาคดีเกี่ยวกับที่ดิน  นาย อาร์ ดับลิว กิบลิน  เจ้ากรมแผนที่คนที่ 2 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการคิดหารูปแบบโฉนดที่ยากแก่การปลอมแปลง  โดยอาศัยระบบทะเบียนที่ดินแบบทอร์เรนส์  และกรมแผนที่เป็นผู้พิมพ์โฉนดดังกล่าวเอง

    ที่ทำการของกรมแผนที่  ได้ย้ายจากที่เดิมไปอยู่กรมทหารม้ารักษาพระองค์  โรงทหารม้า  เมื่อ พ.ศ.2436  แต่ในปีถัดนั้นมาเองก็ย้ายไปอยู่ที่อาคารในสวนสุนันทาลัยปากคลองตลาด  และคงอยู่  ณ ที่นี้มาจนกระทั่ง  พ.ศ.2474  ส่วนโรงเรียนแผนที่เมื่อย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังแล้วก็ตั้งอยู่ที่อาคารในวังสระประทุม  ซึ่งได้ใช้เป็นสาขาของกรมแผนที่ด้วยอีกโสดหนึ่ง  และยังย้ายสาขาตั้งโรงเรียนแผนที่ขึ้นตามหัวเมือง  เช่น พิษณุโลก  ปราจีนบุรี  อยุธยา ฯลฯ (ในระหว่าง พ.ศ.2442 – 2447) ใช้เป็นศูนย์การทำแผนที่ภูมิภาคด้วยในตัว  เพื่อที่จะไม่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ทุกครั้งไป

    กรมทำแผนที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการจนกระทั่งถึง 1 ตุลาคม พ.ศ.2452 จึงโอนสังกัดมาขึ้นตรงกรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหม  ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก และต่อมาเมื่อมีการแยกงานของกรมเสนาธิการ กรมแผนที่จึงมีฐานะเป็นหน่วยราชการขึ้นตรงต่อกองทัพบก  นับแต่นั้นมาเป็นเวลา 54 ปี  ชื่อของหน่วยงานเปลี่ยนแปลงหลายครั้งระหว่างกรมแผนที่  กรมแผนที่ทหาร และกรมแผนที่ทหารบก  การแบ่งส่วนราชการภายในก็มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะหลายคราวตามลักษณะงานที่ซับซ้อนขึ้นโดยลำดับสืบมา

    ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2452 – 2506 เป็นระยะที่กิจการแผนที่ของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว  กรมแผนที่ได้ทำหน้าที่พื้นฐานของความเจริญด้านนี้โดยตรง  แม้จะได้มีการตั้งหน่วยราชการที่ทำแผนที่ขึ้นอีก  เช่น  กรมรังวัดที่ดิน ใน พ.ศ.2453 กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ใน พ.ศ.2464 แต่ปรากฎว่าภารกิจของหน่วยงานเดิมก็มิได้ผ่อนเบาลง เนื่องจากความต้องการแผนที่เพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ  ในชั้นเดิมแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้กลวิธีแบบโต๊ะราบ ซึ่งไม่สู้ทันกับความต้องการ  ต่อเมื่อ พ.ศ.2472 พลตรี พระยาศัลวิธานนิเทศ เจ้ากรมแผนที่ได้เรื่มทดลองการถ่ายรูปทางอากาศเพื่อทำแผนที่ขึ้นเป็นครั้งแรก  แต่กว่าจะได้ทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศกันอย่างจริงจัง  ก็เมื่อได้ตั้งองค์การทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศขึ้นใน พ.ศ.2493 และปรับสภาพเป็นกรมในปีถัดมา  เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกา  โดยมีการเซ็นสัญญาข้อตกลงทำแผนที่ร่วมกัน  กิจการของกรมแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศดังกล่าวได้โอนเข้าร่วมกับกรมแผนที่ทหารบกในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2497 กรมแผนที่ทหารบก  จึงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการผลิตแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศมาแต่บัดนั้น

    ต่อมากระทรวงกลาโหมปรับปรุงโครงสร้างภายในครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2506  โดยได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด  ขึ้นเป็นศูนย์กลางการประสานงานระหว่างเหล่าทัพ  กรมแผนที่ทหารบกมีภารกิจต้องสนับสนุนทั้งหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม และกระทรวง ทบวง กรม อื่นๆ ด้วย จึงได้โอนย้ายมาสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด  และเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมแผนที่ทหาร”  มาจนกระทั่งปัจจุบัน  ส่วนสถานที่ทำการนั้นสำนักงานส่วนใหญ่ได้ย้ายจากอาคารที่ปากคลองตลาดมาตั้งอยู่  ณ  อาคารริมถนนบำรุงเมืองตอนต้น (ถนนกัลยาณไมตรีปัจจุบัน)  แทนที่โรงเรียนนายร้อยมัธยม  และกรมเสนาธิการทหารบก  นับแต่ พ.ศ.2474 ภายหลังโรงเรียนแผนที่จึงได้แยกไปตั้งอยู่ ณ อาคารเดิมของกรมแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศที่ถนนราชดำเนินนอก  และได้มีการสร้างคลังแผนที่ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ถนนลาดพร้าว เขตบางกะปิ เมื่อ พ.ศ.2512 และกองบินถ่ายภาพทางอากาศได้อาศัยพื้นที่บริเวณกองทัพอากาศดอนเมืองบางส่วน  ปัจจุบันจึงมีที่ทำการทั้งสิ้น  4  แห่ง ด้วยกัน

     

    ภารกิจ

    มีหน้าที่ดำเนินการสำรวจทางพื้นดินและทางอากาศเพื่อจัดทำและผลิตแผนที่และภูมิสารสนเทศ สำหรับใช้ในการรักษาความมั่นคง และการพัฒนาประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับงานยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ ตลอดจนการดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกศึกษาในสายวิทยาการเหล่าทหารแผนที่ มีเจ้ากรมแผนที่ทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

     

    วิสัยทัศน์

    เป็นองค์กรชั้นนำในการสำรวจและจัดทำข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศของประเทศ

     

    เจตนารมณ์

    ยึดถือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของ รมว.กห. นโยบาย ผท.ทสส. โดยยึดมั่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

    คุณสมบัติของผู้สมัคร

    - สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.2 ตลอดช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 )
    - เป็นชายโสด ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 20 ปี (ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2541 - พ.ศ.2543)
    - มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมัสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้

     

    การจำหน่ายใบสมัคร

    - สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ (รายละเอียดเพิ่มเติมรอประกาศรับสมัครสอบ)
    - ซื้อด้วยตนเอง ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ประมาณเดือน ธันวาคม - มีนาคม (เว้นวันหยุดราชการ)

    การรับสมัคร

    -สมัครด้วยตนเอง ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ -  มีนาคม 
    -สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์  

     

    แผนที่โรงเรียนแผนที่ทหาร  กรมแผนที่ทหาร

     stsd map

     

    อัลบั้มภาพน้องที่ติวกับ GCT

    คอร์สติวก่อนสอบ ปี 62

    ชื่อหลักสูตร ค่าใช้จ่าย  ระยะเวลา  ลงทะเบียน
           
    หลักสูตร รร.เตรียมทหาร 4 เหล่า      
    คอร์ส ติวเข้มสอบเข้าเตรียมทหาร 4 เหล่า ปี 62 (32วัน)  28,000 20 ก.พ.-23 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
    คอร์ส เตรียมสอบเหล่า ตร.+ทร.+ทบ. ปี 62 (16วัน)  17,000  3-18 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
    คอร์ส เตรียมสอบเหล่า ตร+ทร.+ทบ.+ทอ. ปี 62 (21วัน)  22,000  3-23 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
    เน้นเจาะข้อสอบ อาหาร3มือ มีที่พัก บริการซักผ้าฟรี พาไปสอบข้อเขียน มีพละช่วงเย็น 1600-1800 และวิชาการวันละ9ชม. มีติวสัมภาษณ์      
           
    หลักสูตร รร.จ่าอากาศ      
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าอากาศ ปี 62 (12 วัน) 15,000 9-20 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าอากาศ ปี 62 (5 วัน) 7,000 16-20 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
           
    หลักสูตร รร.จ่าทหารเรือ      
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าทหารเรือ ปี 62 (13 วัน) 16,000 24 ก.พ.-8 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าทหารเรือ ปี 62 (7 วัน) 9,000 2 - 8 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
           
    หลักสูตร รร.นายสิบทหารบก      
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.นายสิบทหารบก ปี 62 (15 วัน) 18,500 2 - 16 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
    คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.นายสิบทหารบก ปี 62 (8 วัน) 10,500 9 - 16 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
           
    หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่)      
    คอร์ส ติวก่อนสอบ หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่) ปี 62 (15 วัน) 18,500 24 ก.พ.-10 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
    คอร์ส ติวก่อนสอบ หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่) ปี 62 (9 วัน) 10,500 2 - 10 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
           
    หลักสูตร ช่างฝีมือทหาร      

    คอร์สติวก่อนสอบ ช่างฝีมือทหาร ปี 62

    เรียนวัน เสาร์ - อาทิตย์ วันที่ 2 -3 , 9-10 , 16-17 , 23-24 ก.พ.62 และ 2-3 มี.ค.62

    12,500

     

    2 ก.พ. - 3 มี.ค.62

     

    สมัครออนไลน์

     

    หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า และพาไปสอบข้อเขียน      
           
    หลักสูตร นักเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค      
    คอร์ส ติวก่อนสอบ นักเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 62
    หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า และพาไปสอบข้อเขียน
    28,500 3 - 31 มี.ค.62 สมัครออนไลน์

     

     

    คอร์สเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ปี 62

    ชื่อหลักสูตร ค่าใช้จ่าย  ระยะเวลา  ลงทะเบียน
           
    หลักสูตรปูพื้นฐาน (ป.6 ขึ้น ม.1 และ ม.1 ขึ้น ม.2) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
    หลักสูตรไฟฟ้าล่วงหน้า (ม.2 ขึ้น ม.3) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
    หลักสูตรเตรียมทหารล่วงหน้า (ม.3 ขึ้น ม.4 และ ม.4 ขึ้น ม.5) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
    หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า      

      อ่านรายละเอียดหลักสูตร

    ชมบรรยากาศ

     

  • ประชาสัมพันธ์