สอบนักเรียนนายร้อยตำรวจหญิง

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า(ปวช./กศน.)
2. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และบิดา มารดา ผู้ให้กำเนิดมีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรหรือชั้นประทวน หรือเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
3. เป็นหญิงโสด ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับชายถึงขั้นพอที่จะถือได้ว่าเป็นผู้มีสามี
4. มีขนาดร่างกายสูงไม่น้อยกว่า 160 เซนติเมตร
5. มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ปิดรับสมัคร กรณีข้าราชการตำรวจต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
6. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกฟ้องหรือต้องหา หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา หรือเคยต้องคำพิพากษาของศาลว่า ได้กระทำผิดในคดีอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
8. ไม่เป็นผู้เคยถูกถอนทะเบียน หรือพ้นจากความเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ ด้วยเหตุที่ตกคะแนนความประพฤติ ที่ระบุไว้ในประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ประเภทบุคคล ลักษณะที่ 11 บทที่ 5 ข้อ 62.3 หรือ 62.4 หรือไม่เคยถูกให้ออกจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาอื่นใด เพราะเหตุประพฤติชั่ว เพราะกระทำความผิดหรือผิดวินัยหรือมีความประพฤติไม่เรียบร้อย
9. ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและที่กำหนดไว้ในผนวก ก.
10. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ หรือกฎหมายอื่น
11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกจากองค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
12. ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบคัดเลือกหรือสอบแข่งขันใด ๆ
13. เป็นผู้เลื่อมในในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญโดยความบริสุทธิ์ใจ
14. ไม่เป็นนักบวชในศาสนาใด ๆ
15. ไม่เป็นผู้ที่ลาออกจากราชการตำรวจ ยังไม่ถึง 1 ปี หรือผู้ที่ทางราชการไม่รับสมัครต่อจากวันครบกำหนดปลดกองหนุนหรือผู้ที่ถูก ให้ออกจากราชการฐานหย่อนความสามารถ เนื่องจากมีความไม่เหมาะสมในการทดลองปฏิบัติราชการ
16. เป็นผู้ที่ทางราชการสืบสวนแล้วว่าเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
17. ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
18. ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
การสมัคร
สมัครทางอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซต์ http://www.rpca.ac.th/ ตลอด 24 ชั่วโมง
การสอบคัดเลือก
การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้
1. การสอบรอบแรกเป็นการสอบข้อเขียน วิชาที่สอบ ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียด ดังนี้
> วิชาภาษาไทย คะแนนเต็ม 200 คะแนน
> วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน
> วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 200 คะแนน -
> วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 200 คะแนน
2. การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ การทดสอบบุคลิกภาพ (เมื่อได้รับการอนุมัติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) สอบพลศึกษา วัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ เป็นการสอบไม่มีคะแนน ถือเกณฑ์ ได้ หรือ ตก มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
> การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ เป็นการตรวจสุขภาพและตรวจโรค ซึ่งต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการทั่วไปและวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียน นายร้อยตำรวจ ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลตำรวจ กรุงเทพมหานคร ตามวัน เวลาที่กำหนด ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิ ผลการตรวจร่างกาย ถือเป็นความเห็นของคณะกรรมการแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง ถือเป็นเด็ดขาด เฉพาะในวันตรวจร่างกายที่กำหนดไว้เท่านั้น และจะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจในวันอื่นหรือ ผู้สมัครขอตรวจซ้ำเอง ยกเว้นคณะแพทย์มีความเห็นให้ตรวจเพิ่มเติมเท่านั้น หรือได้ใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง
> การสอบพลศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย 2 ประเภท คือ
1.วิ่ง ระยะทาง 1,000 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 7 นาที จากจุดเริ่มต้น จนถึงเส้นชัย ถ้าวิ่งไม่ถึง หรือออกนอกลู่วิ่งก่อนครบกำหนดระยะทาง หรือทำเวลาเกินกว่ากำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก
2.ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 3 นาที จากจุดเริ่มต้นจนถึง ผู้สอบใช้มือหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระ ซึ่งเป็นเส้นชัย ผู้ที่ว่ายไม่ถึง หรือทำเวลา เกินกว่าที่กำหนด ถือว่าสอบพลศึกษาตก
ผู้สมัครจะต้องสอบพลศึกษาตาม (1) และ (2) ทั้งสองอย่างให้ผ่าน จึงจะถือว่าสอบพลศึกษาได้ ผู้ที่สอบพลศึกษาตกจะไม่รับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยไม่คำนึงถึงคะแนนข้อเขียนที่สอบได้
> การวัดขนาดร่างกาย ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที โดยจัดให้มีการลงลายมือชื่อรับทราบและคณะกรรมการวัดขนาดร่างกาย รวมทั้งผู้สมัครรายอื่นลงลายมือชื่อเป็นพยาน
> การสอบสัมภาษณ์ จะเป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ท่วงทีวาจา ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไว และปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร เป็นการสอบที่ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์ “ได้” หรือ “ตก” เท่านั้น ผู้ที่สอบตก หมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยไม่คำนึงคะแนนการสอบข้อเขียนที่ได้ โดยจัดให้มีการลงลายมือชื่อรับทราบ และคณะกรรมการวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ รวมทั้งผู้สมัครรายอื่นลงลายมือชื่อเป็นพยาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/greatcadettutor/
สถาบันกวดวิชา Great Cadet Tutor : GCT สาขาใหญ่ จังหวัดปทุมธานี และสาขาอื่นๆ ติวน้องๆ แบบเข้มข้น เจาะลึก เพื่อเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร นายร้อยตำรวจหญิง นายสิบทหารบก ช่างฝีมือทหาร จ่าอากาศ จ่าทหารเรือ ช่างกรมอู่ทหารเรือ ช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เรามีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ดูแลน้องๆ ทุกคนด้วยความจริงใจ มีระบบ e-Learning ที่ทันสมัย และคลังข้อสอบเก่ามากกว่า 10,000 ข้อสามารถปูพื้นฐานน้องๆ ที่มีความสนใจให้ไปถึงเป้าหมายได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า "พื้นฐานไม่ดี GCT ปั้นได้"
ติดต่อเราที่ https://www.facebook.com/greatcadettutor/ และ http://www.greatcadettutor.com/
สอบเตรียมทหาร
น.ต.ท.
น.น้ำหนึ่งใจเดียว ต.ตั้งใจแน่วแน่ ท.ทำไม่ได้ไม่มี

เว็บไซต์โรงเรียนเตรียมทหาร >> http://www.afaps.ac.th/
เหล่าทหารบก
เหล่าทหารบก (ร.ร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า)
เหล่านี้เมื่อจบการศึกษาแล้วส่วนใหญ่จะได้รับการบรรจุเป็นผบ.มว. หรือผู้หมวดที่เรานิยมเรียกกันนั่นเอง ซึ่งจะได้ทำงานแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าตอนจบการศึกษาจากร.ร.เหล่า เรามีผลการศึกษาดีแค่ไหน เพราะการเลือกตำแหน่งบรรจุจะให้ผู้ที่มีผลการเรียนดีเลือกก่อน(หากเรียนแย่ก็แทบไม่ต้องเลือก) โดยกองทัพบกมีเหล่าทหารดังนี้ ทหารราบ ทหารช่าง ทหารการข่าว ทหารพลาธิการ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารสื่อสาร ทหารขนส่ง ทหารสรรพาวุธ ทหารสารวัตร ทหารการเงิน ทหารแพทย์ ทหารสารบรรณ ทหารพระธรรมนูญ ทหารดุริยางค์ ทหารแผนที่ และทหารการสัตว์
แต่ทั้งนี้ทหารเหล่าดุริยางค์ ทหารแพทย์ ทหารการเงิน และทหารพลาธิการจะไม่ค่อยมีตำแหน่งให้นักเรียนนายร้อยเลือก เนื่องจากเป็นวิชาที่ต้องการบุคคลเฉพาะวิชาชีพหรือมี ร.ร.ผลิตบุคลากรด้านนนี้อยู่แล้ว เช่น ร.ร.ดุริยางค์ทหารบก วิทยาลัยแพทยศาสตรพระมงกุฎเกล้า และการสอบบรรจุจากบุคคลภายนอก
เมื่อรู้จักเหล่าแล้วทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายร้อยสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
1. หน่วยรบทหารราบ โดยส่วนใหญ่หากเลือกตำแหน่งเหล่าทหารราบก็มักจะได้เป็นอยู่แล้ว ทั้งยังมีตำแหน่งนี้ให้เลือกบรรจุอยู่มาก
2. หน่วยรบทหารม้า เชื่อว่าน้องๆต้องรู้จักผู้พันเบิร์ด พ.ท.วันชนะ สวัสดี จากหนังเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช นั่นแหละครับเหล่าทหารม้า ไม่ได้แปลว่าต้องไปแสดงหนังนะ แต่คือเราทำการรบโดยใช้ม้าครับ จะได้เรียนรู้การขี่ม้า
3. ทหารรบพิเศษ หรือทหารที่ใส่หมวกเบเล่ย์สีแดงมีสายสีแดงที่แขนขวานั่นเอง ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าทหารรบพิเศษอยู่ในส่วนของทหารราบครับ ถ้าน้องอยากเป็นหลังจากจบการศึกษาจาก ร.ร.เหล่าต้องเลือกตำแหน่งของศูนย์สงครามพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองปฏิบัติการพิเศษ(ฉก.90) กองพันปฏิบัติการจิตวิทยา กองพันจู่โจม กองพันลาดตระเวนระยะไกล และการพันเคลื่อนที่เร็ว ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมากครับ เช่น ฝึกซีล ฝึกรีคอน
4. ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ หากน้องๆดูการถ่ายทอดสดพระราชพิธีต่างๆ หรือในงานพระราชทานปริญญาบัตร น้องๆจะเห็นทหารที่ใส่เสื้อสีขาวกางเกงสีดำสวมหมวกเหมือนสมัยก่อนคอยเดินตามเสด็จและรักษาความปลอดภัยพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งเครื่องแบบจะมีความสง่างามเพราะนอกจากน้องๆจะมีบุคลิกที่ดีแล้วทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์จะมีเครื่องหมายประดับที่หน้าอกเยอะมากครับหากน้องๆอยากรับใช้ใกล้ชิดพระบรมวงศานุวงศ์ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในส่วนของกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์เท่านั้น
5. ทหารรักษาพระองค์ อันนี้ก็เช่นกัน น้องๆจะเห็นทหารเหล่านี้แต่งเครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ในวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีครับ ที่เป็นเครื่องแบบที่มีสีสันสวยงาม (ถ้าจะพูดให้เห็นภาพง่ายๆก็คือ กระป๋องคุ๊กกี้อาร์เซนอลครับ) ทหารรักษาพระองค์ หรือทหารราชวัลลภนั้นจะมีเครื่องแบบที่เท่และสวยมาก หากน้องๆอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยทหารที่มีคำว่ารักษาพระองค์ตามหลังครับ เช่น กรมทหารราบที่21รักษาพระองค์(ทหารเสือพระราชินี) กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่31รักษาพระองค์(ทหารรบพิเศษ กองพันเคลื่อนที่เร็ว) ฯลฯ
6. นักบินทหารบก เมื่อน้องกำลังจะจบการศึกษาจากร.ร.เหล่า ทาง ร.ร.จะดำเนินการรับสมัครให้กับ ร.ร.การบินทหารบกให้โดยตรง
7. หน่วย EOD(เก็บกู้วัตถุระเบิด) ต้องเลือกลงเหล่าสรรพาวุธจึงจะมีสิทธิเข้ารับการศึกษาหลักสูตรทำลายวัตถุระเบิดเพื่อบรรจุเป็นนักทำลายวัตถุระเบิดต่อไป
8. ส่วนเหล่าอื่นๆที่เหลือจะไม่ขอกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถเลือกตำแหน่งบรรจุได้ทันทีครับ (เข้าไปแล้วจะรู้เองโดยอัตโนมัติครับ)
เพิ่มเติม
1. นักเรียนนายร้อยทุกนายจะได้เรียนกับทูลกระหม่อมอาจารย์ (พลเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ)
2. นักเรียนนายร้อยจะฝึกหนักมากในภาคซัมเมอร์ทุกปี จึงมีเวลาปิดภาคเรียนไม่นาน
3. นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 4 มีโอกาสไปดูงานต่างประเทศ
4. นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการเรียนดีจะได้รับคัดเลือกให้ไปศึกษาที่ ร.ร.นายร้อยต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี เยอรมัน ฯลฯ
เหล่าทหารเรือ (รร.นายเรือ)
เหล่าทหารอากาศ (รร.นายเรืออากาศ)
เหล่านี้เมื่อจบแล้วโดยมากจะสอบเข้าเป็นนักบินกันเกือบทั้งรุ่น นอกนั้นก็จะบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งอื่นๆ โดยทหารอากาศจะแบ่งเหล่า ดังนี้ เหล่าทหารช่างอากาศ เหล่าทหารสื่อสาร เหล่าทหารสรรพาวุธ ทหารอากาศโยธิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารแพทย์ เหล่าทหารต้นหน และเหล่าทหารอุตุ แต่ทั้งนี้ ในส่วนของเหล่าแพทย์จะไม่มีตำแหน่งให้นักเรียนนายเรืออากาศที่จบการศึกษาเลือก ผู้ที่ทำงานในเหล่านี้จะมาจากผู้ที่จบจากวิทยาลัยแพทยศาสตรพระมงกุฎเกล้าหรือผู้ที่สอบบรรจุเข้ามาเท่านั้น
เมื่อรู้จักเหล่าแล้วทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายเรืออากาศสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
1. นักบิน รับจากนักเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น
2. ทหารรักษาพระองค์ หากน้องๆอยากเป็นทหารรักษาพระองค์ ก็ต้องเลือกตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยทหารที่มีคำว่ารักษาพระองค์ตามหลัง เช่น กรมทหารอากาศโยธินรักษาพระองค์ ฯลฯ
3. คอมมานโดทอ. หน่วยนี้อยู่ภายใต้สังกัดกรมปฏิบัติการพิเศษทอ. เหล่าทหารอากาศโยธิน ดังนั้นน้องๆคนไหนอยากเป็นลงอากาศโยธินไว้ หรือไม่งั้นก็รอรับสมัครซึ่งเค้ารับไม่จำกัดเหล่าแต่ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชาให้ได้ ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมาก
4. EOD สังกัดกรมสรรพาวุธทหารอากาศ จะทำหน้าที่ทำลายวัตุระเบิดและสิ่งต้องสงสัย
5. เหล่าอื่น ๆ
เหล่าตำรวจ (รร.นายร้อยตำรวจ)
เหล่านี้เมื่อจบแล้วโดยมากจะบรรจุเป็นรองสารวัตร(รองสว.) หรือพนักงานสอบสอบสวนตามสถานีตำรวจทั่วประเทศกันเกือบทั้งรุ่น นอกนั้นก็จะบรรจุเข้าทำงานตำแหน่งอื่นๆ เช่น ตชด. ตำรวจพลร่ม นายเวร ฯลฯ ซึ่งตำรวจน้ำจะไม่มีตำแหน่งให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่จบการศึกษา เพราะสตช.ได้ฝากให้ร.ร.ชุมพลทหารเรือและร.ร.นายเรือผลิตบุคลากรด้านนี้แล้ว โดยสมัครได้ที่ร.ร.ดังกล่าวโดยตรง รับปีละ 10 นาย ทีนี้มาดูเส้นทางกันว่านักเรียนนายร้อยตำรวจสามารถเลือกเส้นทางการทำงานได้อย่างไรบ้าง
1. นักบินตำรวจ รับจากตำรวจชั้นสัญญาบัตรทั่วไป โดยฝึกกับสถาบันการบินพลเรือน
2. ตำรวจคอมมานโด ซึ่งมีอยุ่มากมายหลายหน่วยครับ เช่น กองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจนครบาล ปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และปฏิบัติการพิเศษภูธร ซึ่งอยากไปอยู่หน่วยไหนก็ต้องเลือกบรรจุหน่วยนั้นๆ และจะมีประกาศรับสมัครฝึกภายหลัง
3. ตำรวจพลร่ม หน่วยนี้อยู่ภายใต้กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งน้องๆส่วนใหญ่น่าจะรุ้จักมาบ้างแล้ว เช่น ผู้กองแคน และหมวดตี้ ดังนั้นน้องๆคนไหนอยากเป็นต้องลงหน่วยนี้เท่านั้นครับ ซึ่งการเลือกทางนี้ยังมียอดต่อไปอีกมากครับ อยากเป็นคอมมานโดก็ได้เป็น(นเรศวร261)
4. หน่วย EOD ตำรวจ ถ้าอยากเป็นต้องเลือกลง ตชด.หลังจากนั้นจะมีการรับสมัครฝึกอบรมอีกครั้งหนึ่ง
5. ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.) จะรับสมัครโดยตรงพร้อมกองการสอบ และจากข้าราชการตำรวจหน่วยอื่นๆโดยต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ
6. ตำรวจท่องเที่ยว จะรับสมัครจากข้าราชการตำรวจหน่วยอื่นๆโอนย้ายมาเท่านั้น
7. เหล่าอื่นๆ
สอบจ่าทหารเรือ
โรงเรียนชุมพลทหารเรือ เป็นโรงเรียนที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพเรือ การศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ (นรจ.) จะต้องเข้ารับการฝึกภาคสาธารณศึกษาเพื่อให้มีลักษณะท่าทางเป็นทหาร และรู้จักขนบธรรมเนียมของทหารเรือ ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. เป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะแยกย้ายไปศึกษาตามพรรค – เหล่า โดยเหล่าแพทย์เหล่าเดียวจะแยกไปเรียนที่โรงพยาบาสลสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเวลา 2 ปี ส่วนเหล่าอื่นยังคงศึกษาที่ร.ร.ชุมพลฯ ดังนี้
1. พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน เหล่าทหารสามัญ เหล่าทหารการเงิน เหล่าทหารสารวัตร เหล่าทหารสรรพาวุธ และพรรคกลิน ศึกษาที่ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ 2 ปี จนจบหลักสูตร
2. พรรคพิเศษ เหล่าทหารแพทย์ ศึกษาที่โรงเรียนพยาบาล เป็นเวลา 2 ปี จนจบหลักสูตร
3. พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ เหล่าทหารขนส่ง พรรคนาวิกโยธิน และพรรคพิเศษ เหล่าทหารช่างยุทธโยธา เหล่าทหารพลาธิการ ศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ รร.ชุมพล ฯ ยศ.ทร. และศึกษาต่อชั้นปีที่ 2 ที่ โรงเรียนสื่อสาร โรงเรียนการขนส่งทหารเรือ โรงเรียนทหารนาวิกโยธิน โรงเรียนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และโรงเรียนพลาธิการ ตามลำดับ
คุณสมบัติที่สำคัญของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือสำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือกำลังศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่าของกศน.
2. เป็นชายโสด อายุ 17 - 20 ปี สำหรับผู้ที่เป็นทหารกองประจำการ จะต้องสังกัดกองทัพเรือ และปลดเป็นทหารกองหนุนใน 30 เม.ย. หรือทหารกองหนุนสังกัดกองทัพเรือ(ปลดจากทหารกองประจำการเท่านั้น ไม่รับนศท.) ต้องมีอายุ 18 - 24 ปี
3. มีสัญชาติไทย และบิดา มารดามีสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดก็ได้
หลักฐานสำคัญที่ต้องใช้ในการสมัคร
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบสูติบัตรของผู้สมัคร และสำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.9)
***ในกรณีไม่มีใบสูติบัตรต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร บิดาและมารดา ที่แสดงสัญชาติของผู้ให้กำเนิด (ปู่-ย่า-ตา-ยาย)
2. สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) ของสถานศึกษาที่แสดงว่าสำเร็จการศึกษา
3. รูปถ่ายสี หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตา ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 12 รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายที่ถ่ายไว้ในครั้งเดียวกัน และไม่เกิน 3 เดือน)
การซื้อระเบียบการและใบสมัคร
1. ซื้อด้วยตนเอง ประมาณเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ที่
- กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
- ห้องสมุดกลางกองทัพเรือ อาคารราชนาวิกสภา กรุงเทพมหานคร
- กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- โรงเรียนสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ จังหวัดสมุทรปราการ
- โรงเรียนชุมพลทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
- ค่ายตากสิน อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
- ทัพเรือภาคที่ ๓ จังหวัดภูเก็ต
- หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงทุกเขต
- ร้านสวัสดิการทหารเรือ (นันทอุทยาน)
- ร้านสวัสดิการกรมการเงินทหารเรือ (พระราชวังเดิม)
- ร้านสวัสดิการกิจการห้องเย็น (สัตหีบ)
- สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.2 บางนา ส.ทร.3 ภูเก็ต ส.ทร.5 สัตหีบ ส.ทร.8 พิษณุโลก ส.ทร.9 อุบลราชธานี ส.ทร.11 เชียงใหม่ ส.ทร.15 นราธิวาส)
2. สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณธันวาคม – มกราคม โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ ราคารวมค่าจัดส่ง โดยธนาณัติสั่งจ่ายในนาม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตู้ ปณ.11 ปณภ.พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 ( ให้ส่งทางธนาณัติธรรมดาหรือธนาณัติด่วนพิเศษไม่รับธนาณัติ online )
การรับสมัคร
1. สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ โดยจะถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางเป็นสำคัญ
2. สมัครด้วยตนเอง
- ส่วนภูมิภาค ประมาณกลางเดือนมกราคม (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ตามสถานที่ ดังนี้
- จังหวัดชลบุรี สวนกรมหลวงชุมพร (หนองตะเคียน) อำเภอสัตหีบ - จังหวัดสงขลา สถานีวิทยุเสียงจากทหารเรือ (ส.ทร.6) อำเภอเมือง
- จังหวัดจันทบุรี ค่ายตากสิน อำเภอเมือง - จังหวัดขอนแก่น โรงเรียนขอนแก่นวิทยาลัย อำเภอเมือง
- ส่วนกลาง ตามสถานที่ ดังนี้
- กรุงเทพมหานคร สำนักงานราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น.
- จังหวัดนครปฐม กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อำเภอพุทธมณฑล ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ (ประมาณ 3 วัน) เวลา 09.00 น. - 15.00 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ
การสอบคัดเลือก ประมาณปลายเดือนมีนาคม
- การสอบรอบแรกภาควิชาการ วิชาที่สอบ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย และวิชาวิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
- การสอบรอบสอง การสอบรอบสอง ประมาณต้นเดือนเมษายน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การตรวจขนาดพิกัดความสมบูรณ์ของร่างกายรวมทั้งการตรวจโรคและความพิการที่ขัดต่อการเป็นนักเรียนจ่าทหารเรือ ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
- การทดสอบสุขภาพจิต เป็นการตรวจสอบลักษณะบุคลิกภาพ แนวความคิด อารมณ์ และจิตใจ ซึ่ง ผลการตรวจของคณะกรรมการที่กรมแพทย์ทหารเรือแต่งตั้งในการตรวจในครั้งนี้ถือเป็นเด็ดขาด
- การสอบความเหมาะสม เป็นการสอบการสัมภาษณ์ ท่วงที – วาจา เพื่อดูลักษณะท่าทาง และความเหมาะสมในการเป็นทหาร และความรู้ทั่วไปที่ควรทราบ
> ท่วงที – วาจา (เสียง การพูด) 20 คะแนน
> ทัศนคติ 10 คะแนน
> ปฏิภาณไหวพริบ 60 คะแนน
> ลักษณะท่าทางในการเป็นทหาร 10 คะแนน
- การสอบพละศึกษาเป็นการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ดังนี้
> ว่ายน้ำ 50 เมตร 100 คะแนน
> วิ่ง 800 เมตร 100 คะแนน
> ลุกนั่ง 50 คะแนน
> ดันข้อ 50 คะแนน
สิทธิและประโยชน์ที่นักเรียนจ่าได้รับ
นักเรียนจ่าทหารเรือในส่วนของกองทัพเรือ ที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนในสังกัด กองทัพเรือ จะได้รับการประดับยศเป็นจ่าตรีตามพรรคเหล่าที่สำเร็จการศึกษา ในช่วงระหว่างการศึกษานักเรียนจ่าทหารเรือ จะได้รับสิทธิ์และโอกาสดังนี้
1. ในช่วงเวลาการศึกษาอยู่ในโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
- ได้รับเบี้ยเลี้ยงประจำวัน วันละ 75 บาท เป็นค่าอาหาร
- กองทัพเรือ ออกค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาหาร และเครื่องแต่งกายทั้งหมด
- ขณะศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้รับเงินเดือน เดือนละ 2920 บาท
- ขณะศึกษาชั้นปีที่ 2 ได้รับเงินเดือน เดือนละ 3110 บาท
- นักเรียนจ่าทหารเรือชั้นปีที่ 1 ที่มีผลการศึกษาดี จะได้รับการพิจารณาสอบคัดเลือกให้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือและในระหว่างศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ จะได้รับการแต่งตั้งยศเป็นจ่าตรี และได้รับเงินเดือน เดือนละ 5080 บาท ไปจนจบการศึกษา (ปีละ 2 นาย)
2. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
- ได้รับการแต่งยศเป็นจ่าตรี เริ่มรับเงินเดือน เดือนละ 6470 บาท
- ได้รับเบี้ยค่าครองชีพชั่วคราว เดือนละ 2530 บาท
- สำหรับผู้ที่ได้รับการบรรจุให้ปฏิบัติงานบนเรือหลวง จะได้รับเงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษสำหรับทหารหน่วยเรือ (พ.น.ร.) อีกเดือนละ 2700 บาท นอกเหนือจากเงินเดือนตามปรกติ
- เมื่อเป็นนายทหารประทวนแล้วยังมีสิทธิ์สมัครเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมตามขีดความสามารถของตนเอง ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และมีสิทธิ์สอบคัดเลือกไปรับเรือในต่างประเทศ
- นายทหารประทวนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสามารถสอบเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตรและสามารถสอบปรับเทียบคุณวุฒิเป็นนายทหารสัญญาบัตรปริญญาได้ตามตำแหน่งที่กองทัพเรือมีความต้องการ
- ได้รับสิทธิต่างๆ ที่ทางราชการกำหนด เช่น การรักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ฯลฯ
การเลือก พรรค – เหล่า
คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ จะดำเนินการเกี่ยวกับการเลือก พรรค – เหล่า โดยใช้ความสมัครใจประกอบกับคะแนนสอบคัดเลือกฯ ที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน ซึ่งผู้สมัครสอบจะทราบพรรค – เหล่า ของตนเองในวันประกาศผลการสอบ ถ้ามี พรรค – เหล่า ใดว่างลงอันเนื่องมาจากมีผู้สมัครน้อยหรือสละสิทธิ์ คณะกรรมการสอบคัดเลือกฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการจัด พรรค – เหล่า นั้นๆ ให้แก่ผู้สมัครสอบเพื่อให้ครบจำนวนตามที่ทางราชการต้องการ เงื่อนไขในการเลือกพรรค – เหล่า มีดังนี้
- พรรคนาวิน เหล่าทหารสามัญ พรรคนาวิน เหล่าทหารการปืน พรรคนาวิน เหล่าทหารขนส่ง พรรคนาวิน เหล่าทหารสรรพาวุธ พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – วิทยุ พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – เรดาห์ พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – โซนาร์ พรรคนาวิน เหล่าทหารสัญญาณ – ทัศนสัญญาณ พรรคนาวิกโยธิน พรรคกลิน พรคกลิน เหล่าทหารเครื่องกล – ช่างเครื่องบิน ต้องสำเร็จหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ
- พรรคนาวินเหล่าทหารสารวัตร ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพของกระทรวงศึกษาธิการ และมีความสูงไม่น้อยกว่า 165 เซนติเมตร
- พรรคพิเศษเหล่าทหารแพทย์ ต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยสะสม 2.00 ขึ้นไป และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้
> วิชาวิทยาศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
> วิชาคณิตศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – อิเล็กทรอนิกส์ ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้
> วิชาวิทยาศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
> วิชาคณิตศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างอิเล็กทรอนิกส์)
- พรรคพิเศษเหล่าทหารช่างยุทธโยธา – ไฟฟ้า ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมดังนี้
> วิชาวิทยาศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
> วิชาคณิตศาสตร์ ต้องมีหน่วยกิตรวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต หรือสำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม (ช่างไฟฟ้า)
- พรรคพิเศษ เหล่าทหารพลาธิการ เหล่าทหารการเงิน ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพพาณิชยกรรม
สอบถามเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/greatcadettutor/ และ http://www.greatcadettutor.com/
สอบนายสิบ
"เราคือ หัวใจของกองทัพบก เราฝึกคนให้เป็นผู้นำ และเป็นผู้ตามที่ดี "
" WE ARE THE HEART OF THE ROYAL THAI ARMY WE TRAIN NCO STUDENTS TO BE THE BEST LEADERS AND THE BEST FOLLOWERS "
โรงเรียนนายสิบทหารบก รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต www.rtc-rta.com หรือ www.radd-atc.com เป็นสถาบันที่ผลิตนายทหารชั้นประทวนให้กับกองทัพบก มี ระยะเวลาการศึกษา 1 ปี โดย 6 เดือนแรกจะเน้นศึกษาวิชาทหารแต่ก็จะมีวิชาการเล็กๆน้อยๆที่ร.ร.นายสิบทหารบก หลังจากนั้นจึงจะให้นักเรียนนายสิบเลือกเหล่าที่ตนเองต้องการศึกษาตามลำดับคะแนนของ 6 เดือนแรก เพื่อแยกศึกษาต่อที่ร.ร.เหล่าใน 6 เดือนหลังและบรรจุหลังจบการศึกษา แบ่งออกเป็นจำนวน 13 เหล่า ดังนี้
1.เหล่าทหารราบ 2. เหล่าทหารม้า 3. เหล่าทหารปืนใหญ่ 4. เหล่าทหารช่าง 5. เหล่าทหารสื่อสาร 6. เหล่าทหารขนส่ง 7. เหล่าทหารสรรพาวุธ 8. เหล่าทหารพลาธิการ 9. เหล่าทหารการเงิน 10. เหล่าทหารสารวัตร 11. เหล่าทหารแพทย์ 12. เหล่าทหารการสัตว์ 13. เหล่าทหารการข่าว
ประเภทบุคคลที่จะรับสมัคร
1.บุคคลพลเรือน เพศชาย อายุ 18-22 ปี (รับทั้งผู้เรียนนศท.และไม่เรียนนศท.)
2.ทหารกองประจำการ (ทุกผลัด) ในสังกัดกองทัพบก (ไม่ต้องรอปลดประจำการ) อายุไม่เกิน 24 ปี
3.พลทหารประจำการ ( พลอาสาสมัคร ) เพศชาย ในสังกัดกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
4.อาสาสมัครทหารพราน เพศชาย ในส่วนของกองทัพบก อายุไม่เกิน 24 ปี
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. สำเร็จการศึกษา มัธยมศึกษาศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายสามัญ สายอาชีพ หรือเทียบเท่า ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่กำลังรอผลการศึกษา
2. เป็นชายไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 22 ปี ไม่รับสมัครผู้ที่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารกองประจำการ และผู้ที่ขอผ่อนผันทุกกรณี ยกเว้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 (รด.ปี 3) ขึ้นไป ซึ่งต้องมีหลักฐานใบสำคัญ หรือหากเป็นทหารกองหนุนต้องมีใบกองหนุน (สด.8) หรือ ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (สด.43) มาแสดงต่อกรรมการรับสมัคร
3. ทหารกองประจำการ, พลทหารประจำการ (พลอาสาสมัคร) และ อาสาสมัครทหารพราน ในส่วนของกองทัพบก มีอายุไม่เกิน 24 ปี (ถ้าสมัครนักเรียนนายสิบเหล่าทหารราบจะต้องประจำการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
4. มีสัญชาติไทยและบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้
5. มีอวัยวะ รูปร่าง ลักษณะท่าทาง และขนาดของร่างกายเหมาะแก่การเป็นทหาร ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
6. เป็นชายโสด ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรม ไม่เป็นผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว
7. ไม่อยู่ในสมณะเพศ
8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างเป็นจำเลยในคดีอาญา และไม่เคยต้องคำพิพากษาโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดในลักษณะลหุโทษ หรือ ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
9. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างพักราชการเนื่องจากความผิด หรือหนีราชการ
10. ไม่เป็นผู้ถูกปลดเพราะความผิด หรือถูกไล่ออกจากราชการ
11. ไม่เคยทุจริตในการสมัครสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบกมาก่อน
12. ต้องได้รับอนุญาตจาก บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
13. ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติดหรือสารเคมีเสพติดให้โทษ
14. ต้องว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 25 เมตร
15. ต้องผ่านขั้นตอนการตรวจโรค ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ตามเกณฑ์ที่กำหนด
16. ไม่เป็นผู้ที่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ ตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2497 ในปีที่สมัครสอบเข้าเป็นนักเรียนนายสิบทหารบก
การรับสมัคร
- รับสมัครทางอินเทอร์เน็ต www.radd-atc.com
- สมัครด้วยตนเอง ที่กรมยุทธศึกษาทหารบก
คะแนนเพิ่มพิเศษสำหรับผู้สมัคร
- ผู้สำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5
- บุตรของผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ หรือเหรียญกล้าหาญ
- บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งต้องประสบอันตรายถึงทุพพลภาพ ในขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ หรือต้องบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือได้รับเงินค่าทำขวัญตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยคนงาน
- บุตรของทหาร ข้าราชการ หรือคนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ในระหว่างเวลาที่มีการรบ หรือสงคราม หรือ มีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- นักกีฬาทีมชาติ นักกีฬาทีมเขต (กีฬาแห่งชาติ) นักกีฬาทีมเยาวชนแห่งชาติ นักกีฬาเขตการศึกษา นักกีฬาทีมสโมสร ( เฉพาะถ้วย ก. ) และนักกีฬากองทัพบก ซึ่งออกให้โดย คณะกรรมการบริหารโอลิมปิกแห่งชาติ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรมพลศึกษา สมาคมการกีฬาแต่ละประเภท หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนากีฬากองทัพบก
- ทหารกองประจำการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม ไม่น้อยกว่า 120 วัน ก่อนวันที่จะสมัครเข้ารับการสอบคัดเลือก
การทดสอบมีสองขั้นตอน
ขั้นตอนแรก การสอบภาควิชาการ เนื่อหา ม.ปลาย ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (4 วิชา 120 ข้อ วิชาละ 30 ข้อ ใช้เวลา 90 นาที)
ขั้นตอนที่สองสำหรับผู้ที่ผ่านรอบวิชาการ จะเข้ารับการสัมภาษณ์ ตรวจร่างกายและทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (ว่ายน้ำ 25 เมตร ไม่เกิน 2 นาที ,ดึงข้อ , ลุกนั่ง ,ดันพื้น , วิ่ง 1000 เมต ไม่เกิน 5.05 นาที)
เว็บรับสมัครนักเรียนนายสิบทหารบก http://atc-rta.thaijobjob.com/
สอบจ่าอากาศ

คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. เป็นชายโสด สัญชาติไทย
2. บิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
3. สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า อายุ 18 - 20 ปี
4. มีผลการศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00
5. ขนาดพิกัด ความสมบูรณ์ของร่างกาย ไม่เป็นโรค และความพิการตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
การสมัครเข้าเป็นนักเรียนจ่าอากาศ
สมัครทางอินเทอร์เน็ต ประมาณเดือนธันวาคม เป็นต้นไป
***วิธีการสมัคร ติดตามรายละเอียดได้ในที่ https://atts.rtaf.mi.th/ หรือ http://www.greatcadettutor.com/
หลักฐานประกอบการรับสมัคร
1. หลักฐานแสดงคุณวุฒิการศึกษา
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้สมัคร
3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร
4. หลักฐานการฝึกวิชาทหาร (รด.) (ถ้ามี)
5. หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรทหาร ข้าราชการหรือลูกจ้างที่ได้รับสิทธิพิเศษ (ถ้ามี)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
การสอบคัดเลือก
1. สอบภาควิชาการ 5 วิชา (700 คะแนน) [วิทย์ฯ 200 คณิตฯ 200 อังกฤษ 175 ไทย+สังคม 125]
2. สอบความถนัดและวิภาววิสัย พลศึกษา สัมภาษณ์ ตรวจร่างกายทางการแพทย์
2.1 สอบความถนัดและวิภาววิสัย
2.2 สอบพลศึกษา 5 สถานี [ดึงข้อ 10 ครั้ง วิ่ง 1,000 เมตร ลุก-นั่ง 30 วินาที ยืนอยู่กับที่กระโดดไกล ว่ายน้ำ 50 เมตร]
2.3 สัมภาษณ์ [การปฏิบัติตามคำสั่ง ลักษณะทหาร ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ ความรู้รอบตัว]
2.4 ตรวจร่างการทางการแพทย์
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
• ขณะเป็นนักเรียนจ่าอากาศ
1. ไม่ต้องเสียค่าบำรุงการศึกษา ค่าหน่วยกิตการศึกษา
2. ได้รับจ่ายสิ่งของ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง ตามที่ทางราชการกำหนด
3. ประกอบเลี้ยงอาหารทุกวัน วันละ 3 มื้อ
4. ได้รับเบี้ยเลี้ยง และเงินเดือน ขณะเป็นนักเรียนจ่าอากาศ
5. ได้รับสิทธิในการคัดเลือก เป็นนักเรียนทุนเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ ตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพอากาศกำหนด
6. รับการรักษาพยาบาล จาก โรงพยาบาลของรัฐ
• เมื่อสำเร็จการศึกษา
1. ได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรที่สำเร็จ
2. แต่งตั้งยศเป็นจ่าอากาศตรี
3. บรรจุเข้ารับราชการในกองทัพอากาศ
4. รับเงินเดือน ตามอัตราที่ทางราชการกำหนด
5. มีสิทธิสอบเลื่อนเป็นนายทหารสัญญาบัตร ตามความต้องการบรรจุกำลังพลในแต่ละปี เมื่อคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ทางราชการกำหนด
สถาบันกวดวิชา Great Cadet Tutor : GCT สาขาใหญ่ จังหวัดปทุมธานี และสาขาอื่นๆ ติวน้องๆ แบบเข้มข้น เจาะลึก เพื่อเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร นายร้อยตำรวจหญิง นายสิบทหารบก ช่างฝีมือทหาร จ่าอากาศ จ่าทหารเรือ ช่างกรมอู่ทหารเรือ ช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เรามีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ดูแลน้องๆ ทุกคนด้วยความจริงใจ มีระบบ e-Learning ที่ทันสมัย และคลังข้อสอบเก่ามากกว่า 10,000 ข้อสามารถปูพื้นฐานน้องๆ ที่มีความสนใจให้ไปถึงเป้าหมายได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า "พื้นฐานไม่ดี GCT ปั้นได้"
ติดต่อเราที่ https://www.facebook.com/greatcadettutor/ และ http://www.greatcadettutor.com/
พยาบาลเหล่าทัพ
ผู้ที่สนใจสอบเข้าเป็นนักเรียนพยาบาลของเหล่าทัพต่างๆ สามารถคลิกดูรายละเอียดที่ที่รูปภาพได้เลยค่ะ
สถาบันกวดวิชา Great Cadet Tutor : GCT สาขาใหญ่ จังหวัดปทุมธานี และสาขาอื่นๆ ติวน้องๆ แบบเข้มข้น เจาะลึก เพื่อเตรียมสอบเข้าเตรียมทหาร นายร้อยตำรวจหญิง นายสิบทหารบก ช่างฝีมือทหาร จ่าอากาศ จ่าทหารเรือ ช่างกรมอู่ทหารเรือ ช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เรามีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ดูแลน้องๆ ทุกคนด้วยความจริงใจ มีระบบ e-Learning ที่ทันสมัย และคลังข้อสอบเก่ามากกว่า 10,000 ข้อสามารถปูพื้นฐานน้องๆ ที่มีความสนใจให้ไปถึงเป้าหมายได้ ด้วยสโลแกนที่ว่า "พื้นฐานไม่ดี GCT ปั้นได้"
ติดต่อเราที่ https://www.facebook.com/greatcadettutor/ และ http://www.greatcadettutor.com/