ติวสอบตำรวจ หรือ อ่านหนังสือเตรียมสอบตำรวจอย่างไร ให้ได้ผล

          สำหรับผู้ที่หวังอยากรับราชการเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ ปีล่าสุด โดยในครั้งนี้รับสมัครจากบุคคลภายนอก เพศชาย อายุ 18 - 27 ปี วุฒิ ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า จำนวน 5,000 อัตรา

          การเปิดรับสมัครสอบตำรวจในแต่ละครั้งจะมีผู้สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันที่สูง ผู้สมัครสอบต้องเตรียมตัวให้มาก เพราะนอกจากจะเจอกับจำนวนผู้สมัครที่มากมายแล้วยังจะเจอกับคะแนนที่เบียดกันจนผลต่างระหว่างคะแนน 1 คะแนน ลำดับที่อาจตกไปหลายลำดับ ดังนั้นทุกคะแนนสำคัญมากๆ ผู้สมัครสอบควรจะสมัครสอบและชำระค่าสมัครให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อที่จะมีลำดับที่ดีกว่าหากผลคะแนนรวมเท่ากัน แต่ถ้าหากคุณเก่งจริงก็อย่าได้สนใจทำคะแนนให้ได้เยอะๆกว่าคนอื่นเท่านี้ลำดับที่สมัครสอบก็ไม่มีผลแล้ว

          ในการเปิดสอบตำรวจในแต่ละครั้งก็จะมีผู้สมัครสอบเป็นจำนวนมาก ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมตัวในการสอบเป็นอย่างดี หลายๆคนคิดหาที่ติวสอบตำรวจ หลายๆคนเตรียมตัวอ่านหนังสือเอง สิ่งที่อยากจะแนะนำคือ

 

police62 02 

 

สำหรับผู้ที่จะติวสอบตำรวจ

จะเหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยสอบตำรวจ หรือยังไม่เคยผ่านการสอบรับราชการเลย ซึ่งคุณจะไม่รู้แนวทางในการทำข้อสอบ แนวข้อสอบในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร อะไรควรทำก่อน ข้อไหนควรทำหลัง การรักษาเวลาในการสอบ เป็นไปได้ยากที่ผู้เข้าสอบครั้งแรกจะประสบผลสำเร็จเลยหากไม่ได้ผู้ช่วยที่ดี หรือมีการเตรียมการที่ดีพอ
หากคุณตั้งใจแล้วว่าจะติว คุณก็ต้องดูว่าควรจะติวกับสถาบันไหน ซึ่งมีมากมาย สิ่งที่คุณต้องคำนึงคือเรื่องวัน เวลา ในการติว บางคนว่างตลอดก็สามารถติวช่วงกลางวันได้ บางคนทำงานไปด้วยก็ต้องติวช่วงกลางคืนหรือเสาร์อาทิตย์ สิ่งที่ต้องคำนึงอีกคือราคา ก็ให้ดูตามงบเราว่าควรจะเลือกติวราคาเท่าไหร่

คอร์สของ GCT : หลักสูตรที่กำลังเปิดรับสมัคร

 

สำหรับผู้ที่จะอ่านหนังสือเอง

เหมาะสำหรับผู้เคยสอบตำรวจมาแล้ว รู้แนวทางในการอ่าน รู้ว่าภาษาไทยเคยออกสอบแบบไหน คอมพิวเตอร์ สังคม จริยธรรม ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จะถามไปแนวไหน เมื่อรู้แนวข้อสอบแล้วคุณก็สามารถหารายละเอียดต่างๆตามเว็บไซต์แล้วพิมพ์ออกมาอ่านได้ตามต้องการ หรือจะซื้อคู่มือเตรียมสอบจากสถาบันต่างๆที่วางจำหน่ายโดยดูเนื้อหาว่าครอบคลุมวิชาที่สอบหรือไม่
ในการเลือกซื้อหนังสือเตรียมสอบตำรวจหากได้ซื้อด้วยตนเอง ได้ลองอ่านเนื้อหาในเล่มดูก่อนจะดีกว่าที่ซื้อโดยไม่ได้อ่านเนื้อหาเลย เพราะคุณจะได้ดูเนื้อหาในเล่มว่าเป็นปัจจุบันหรือไม่ เนื้อหาสาระในหนังสือละเอียดมากน้อยอย่างไร

 

- วิชาที่ออกข้อสอบตำรวจ

***ท่านจะไม่พลาดข่าวงานราชการ เพียงติดตามเราที่
https://www.facebook.com/greatcadettutor/

โรงเรียนแผนที่  กรมแผนที่ทหาร

stsd

 

ประวัติโรงเรียนแผนที่

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยเริ่มแรกของการพัฒนาประเทศอย่างกว้างขวางยิ่ง เพื่อให้ทันกับความจำเป็นของสถานการณ์ที่กำลังคุกคามต่อเอกราชของสยามในยุคนั้น  การทำแผนที่แผนใหม่ซึ่งต้องอาศัยหลักวิชาและอุปกรณ์เครื่องมือของประเทศฝ่ายตะวันตกก็ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลนี้ด้วยเช่นกัน

หลังจากที่เสด็จประพาสรอบแหลมมลายู ชวาและอินเดีย ใน พ.ศ.2416 แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำ นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ที่เคยทำหน้าที่รองกงสุลอังกฤษในเมืองไทยมาก่อนนั้น กลับเข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษาส่วนพระองค์ด้วย

นายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ได้กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำในการทำนุบำรุงบ้านเมืองด้วยวิชาการสมัยใหม่หลายสาขา รวมทั้งวิชาการสำรวจและทำแผนที่ ซึ่งทรงเห็นว่ามีประโยชน์มาก ดังนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทำแผนที่ทดลองขึ้น ใน พ.ศ.2418 มี นายเฮนรี่  อลาบาสเตอร์ นั้นเองเป็นหัวหน้า มีกัปตันลอฟตัสเป็นผู้ช่วยร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยอีก 4 นาย ได้แก่ ม.ร.ว.แดง  เทวาธิราช  นายทัด  ศิริสัมพันธ์  นายสุด  และ ม.ร.ว.เฉลิม  เริ่มสำรวจทำแผนที่ในกรุงเทพฯ  เพื่อตัดถนนเจริญกรุงและถนนอื่นๆ อีกหลายสาย  ต่อจากนั้นก็ได้ทำแผนที่วางสายโทรเลขไปยังพระตะบอง  และแผนที่บริเวณปากอ่าวสยาม  เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือและเป็นแนวทางในการป้องกันฝั่งทะเล  เนื่องจากเกรงว่าอาจมีการรุกรานจากต่างประเทศ

ครั้น  พ.ศ.2423  รัฐบาลอังกฤษได้ขออนุญาตรัฐบาลสยาม  เพื่อให้กองทำแผนที่  กรมทำแผนที่แห่งอินเดีย  ซึ่งมีกัปตัน เอช.ฮิล เป็นหัวหน้า  และนายเจมส์  เอฟแมคคาร์ธี  เป็นผู้ช่วย  เดินทางผ่านเข้ามาในประเทศสยามเพื่อดำเนินการวางโครงข่ายสามเหลี่ยมต่อเนื่องจากประเทศอินเดีย  ผ่านพม่า เข้าเขตประเทศสยามทางจังหวัดราชบุรี เพื่อเข้าบรรจบกับแผนที่ทางทะเลที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา  ทั้งขอสร้างหมุดหลักฐานทางแผนที่ภูเขาทอง  และที่พระปฐมเจดีย์  เพื่อใช้เป็นจุดตรวจสอบด้วย  ครั้งนั้นข้าราชการไทยหวั่นวิตกเป็นอันมาก  เนื่องจากได้สังเกตเห็นมาแล้วว่า  ประเทศนักล่าอาณานิคมมักขอเข้าสำรวจก่อน  แล้วจึงถือโอกาสเข้ายึดครองในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว  จึงทรงโปรดเกล้าฯ อนุโลมตามคำแนะนำของนายอลาบาสเตอร์  ที่ให้ยินยอมตามคำขอของรัฐบาลอังกฤษ  ทั้งทรงเห็นชอบด้วยกับการที่จะเจรจาทาบทามตัวพนักงานทำแผนที่อังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อเป็นการวางรากฐานการทำแผนที่ของไทยเองด้วย   ผลที่สุดปรากฎว่า  นายเจมส์ เอฟ แมคคาร์ธี  ตกลงยินยอมเข้ารับราชการสยาม  นับแต่วันที่ 1  ตุลาคม พ.ศ.2424  โดยสังกัดฝ่ายพระกลาโหม ซึ่งมีหน้าที่บัญชาการหัวเมืองและทหารฝ่ายใต้ในขณะนั้น  แต่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง  คือ  พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ)  ผู้บัญชาการกรมทหารมหาดเล็ก

ภารกิจของนายเจมส์  แมคคาร์ธี  ในระยะแรกได้แก่  การทำแผนที่เฉพาะกิจตามความต้องการของหน่วยราชการต่างๆ เช่น แผนที่ทางโทรเลขระหว่างระแหงถึงมะละแหม่ง  แผนที่วิวาทชายแดนระหว่างอำเภอรามันปัตตานี  กับเขตติดต่อแม่น้ำเประของอังกฤษ  และแผนที่แม่น้ำแม่ติ่น  แดนตากต่อเชียงใหม่  เพื่อประกอบกรณีพิพาทเรื่องเก็บค่าตอ  เป็นต้น  เจ้าหน้าที่กองสำรวจและทำแผนที่ระยะนี้  ก็ได้แก่  ข้าราชการในกรมทหารมหาดเล็กนั้นเอง

เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องใช้แผนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนกระทั้งกองทำแผนที่เพียงกองเดียว  ไม่สามารถรับภารกิจทั้งสิ้นได้  พระองค์เจ้าดิสวรกุมาร  จึงทรงได้รับพระราชโองการให้ตรัสเรียกนายแมคคาร์ธีมาปรึกษา  และร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนฝึกสอนชาวสยามให้ทำแผนที่ขึ้นในระยะปลายปี พ.ศ.2425 โดยเกณฑ์เอานายทหารรักษาพระองค์  30  นาย  เข้าเป็นนักเรียนรุ่นแรก  นายแมคคาร์ธี เข้ารับหน้าที่ เป็นครูใหญ่  มีนายเฮนรี่ นิโกเล  เป็นครูรอง  ทำการสอนภาคทฤษฎีที่ตึกแถวกองทหารมหาดเล็ก ข้างประตูพิมานไชยศรีในพระบรมมหาราชวังและนำนักเรียนออกมาฝึกทำแผนที่ทั้งในกรุงเทพฯ  และมณฑลอื่นๆ

โรงเรียนแผนที่ได้ดำเนินการมาได้ราวสามปี  ได้จำนวนผู้สำเร็จการศึกษามากพอที่จะตั้งหน่วยราชการขึ้นได้จึงได้ประกาศพระบรมราชโองการแยกเหล่านักสำรวจออกจากสังกัดกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์  ตั้งขึ้นเป็นกรมแผนที่ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2428  (ตรงกับวันพฤหัสบดี แรมเก้าค่ำ ปีระกา  สัปตศก จ.ศ.1247) นายแมคคาร์ธี ซึ่งได้รับพระราชทางยศและบรรดาศักดิ์  เป็นร้อยเอกพระวิภาคภูวดล  นั้น ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้ากรม  ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  โดยมีพระองค์เจ้าดิศวรกุมารเป็นผู้กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ที่ทำการของกรมในระยะแรกนี้ตั้งอยู่ที่เดียวกับโรงเรียนแผนที่นั้นเอง การแบ่งส่วนราชการในยุคนั้นยังไม่ลงตัวนัก เจ้าหน้าที่กองทำแผนที่ซึ่งจะออกสำรวจพื้นที่ตามหัวเมืองระหว่างเดือนตุลาคมถึงต้นฤดูฝน แล้วกลับมาทำการ วาด เขียน ร่าง และพิมพ์แผนที่ในสำนักงานระหว่างฤดูฝนกับผู้ทำการสอนและเรียนในโรงเรียนแผนที่เป็นบุคคลชุดเดียวกัน ผลงานสำคัญที่ควรกล่าวถึงในช่วงนี้คือ การรวบรวมข้อมูลภูมิประเทศจัดทำแผนที่พระราชอาณาจักรสยามอย่างสมบูรณ์ ตลอดจนแผนที่มณฑลต่างๆ  ทั้งยังได้ทำการสำรวจวางโครงข่ายสามเหลี่ยมรอบเขตชายแดนไทยทางภาคเหนือ  ซึ่งต้องหยุดชะงักลงเมื่อเกิดกรณีพิพาทเรื่องดินแดนกับประเทศฝรั่งเศสใน ร.ศ.112 (พ.ศ.2436)

ใน พ.ศ.2435  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่  โดยแยกงานออกเป็น 12 กระทรวง   กรมทำแผนที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอยู่ระยะหนึ่ง  จึงได้โอนไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ  งานทำแผนที่ในระยะนี้จึงหนักไปในด้านทำแผนที่โฉนด  แผนที่การใช้ที่ดินในมณฑลต่างๆ  เพื่อประโยชน์ในทางการปกครอง  การเก็บภาษีอากร  และการพิจารณาคดีเกี่ยวกับที่ดิน  นาย อาร์ ดับลิว กิบลิน  เจ้ากรมแผนที่คนที่ 2 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการคิดหารูปแบบโฉนดที่ยากแก่การปลอมแปลง  โดยอาศัยระบบทะเบียนที่ดินแบบทอร์เรนส์  และกรมแผนที่เป็นผู้พิมพ์โฉนดดังกล่าวเอง

ที่ทำการของกรมแผนที่  ได้ย้ายจากที่เดิมไปอยู่กรมทหารม้ารักษาพระองค์  โรงทหารม้า  เมื่อ พ.ศ.2436  แต่ในปีถัดนั้นมาเองก็ย้ายไปอยู่ที่อาคารในสวนสุนันทาลัยปากคลองตลาด  และคงอยู่  ณ ที่นี้มาจนกระทั่ง  พ.ศ.2474  ส่วนโรงเรียนแผนที่เมื่อย้ายออกจากพระบรมมหาราชวังแล้วก็ตั้งอยู่ที่อาคารในวังสระประทุม  ซึ่งได้ใช้เป็นสาขาของกรมแผนที่ด้วยอีกโสดหนึ่ง  และยังย้ายสาขาตั้งโรงเรียนแผนที่ขึ้นตามหัวเมือง  เช่น พิษณุโลก  ปราจีนบุรี  อยุธยา ฯลฯ (ในระหว่าง พ.ศ.2442 – 2447) ใช้เป็นศูนย์การทำแผนที่ภูมิภาคด้วยในตัว  เพื่อที่จะไม่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ทุกครั้งไป

กรมทำแผนที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการจนกระทั่งถึง 1 ตุลาคม พ.ศ.2452 จึงโอนสังกัดมาขึ้นตรงกรมเสนาธิการ กระทรวงกลาโหม  ตามพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก และต่อมาเมื่อมีการแยกงานของกรมเสนาธิการ กรมแผนที่จึงมีฐานะเป็นหน่วยราชการขึ้นตรงต่อกองทัพบก  นับแต่นั้นมาเป็นเวลา 54 ปี  ชื่อของหน่วยงานเปลี่ยนแปลงหลายครั้งระหว่างกรมแผนที่  กรมแผนที่ทหาร และกรมแผนที่ทหารบก  การแบ่งส่วนราชการภายในก็มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะหลายคราวตามลักษณะงานที่ซับซ้อนขึ้นโดยลำดับสืบมา

ช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2452 – 2506 เป็นระยะที่กิจการแผนที่ของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว  กรมแผนที่ได้ทำหน้าที่พื้นฐานของความเจริญด้านนี้โดยตรง  แม้จะได้มีการตั้งหน่วยราชการที่ทำแผนที่ขึ้นอีก  เช่น  กรมรังวัดที่ดิน ใน พ.ศ.2453 กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ ใน พ.ศ.2464 แต่ปรากฎว่าภารกิจของหน่วยงานเดิมก็มิได้ผ่อนเบาลง เนื่องจากความต้องการแผนที่เพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ  ในชั้นเดิมแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้กลวิธีแบบโต๊ะราบ ซึ่งไม่สู้ทันกับความต้องการ  ต่อเมื่อ พ.ศ.2472 พลตรี พระยาศัลวิธานนิเทศ เจ้ากรมแผนที่ได้เรื่มทดลองการถ่ายรูปทางอากาศเพื่อทำแผนที่ขึ้นเป็นครั้งแรก  แต่กว่าจะได้ทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศกันอย่างจริงจัง  ก็เมื่อได้ตั้งองค์การทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศขึ้นใน พ.ศ.2493 และปรับสภาพเป็นกรมในปีถัดมา  เนื่องจากได้รับความร่วมมือจากสหรัฐอเมริกา  โดยมีการเซ็นสัญญาข้อตกลงทำแผนที่ร่วมกัน  กิจการของกรมแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศดังกล่าวได้โอนเข้าร่วมกับกรมแผนที่ทหารบกในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2497 กรมแผนที่ทหารบก  จึงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการผลิตแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศมาแต่บัดนั้น

ต่อมากระทรวงกลาโหมปรับปรุงโครงสร้างภายในครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2506  โดยได้จัดตั้งกองบัญชาการทหารสูงสุด  ขึ้นเป็นศูนย์กลางการประสานงานระหว่างเหล่าทัพ  กรมแผนที่ทหารบกมีภารกิจต้องสนับสนุนทั้งหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม และกระทรวง ทบวง กรม อื่นๆ ด้วย จึงได้โอนย้ายมาสังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด  และเปลี่ยนชื่อเป็น “กรมแผนที่ทหาร”  มาจนกระทั่งปัจจุบัน  ส่วนสถานที่ทำการนั้นสำนักงานส่วนใหญ่ได้ย้ายจากอาคารที่ปากคลองตลาดมาตั้งอยู่  ณ  อาคารริมถนนบำรุงเมืองตอนต้น (ถนนกัลยาณไมตรีปัจจุบัน)  แทนที่โรงเรียนนายร้อยมัธยม  และกรมเสนาธิการทหารบก  นับแต่ พ.ศ.2474 ภายหลังโรงเรียนแผนที่จึงได้แยกไปตั้งอยู่ ณ อาคารเดิมของกรมแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศที่ถนนราชดำเนินนอก  และได้มีการสร้างคลังแผนที่ขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่ถนนลาดพร้าว เขตบางกะปิ เมื่อ พ.ศ.2512 และกองบินถ่ายภาพทางอากาศได้อาศัยพื้นที่บริเวณกองทัพอากาศดอนเมืองบางส่วน  ปัจจุบันจึงมีที่ทำการทั้งสิ้น  4  แห่ง ด้วยกัน

 

ภารกิจ

มีหน้าที่ดำเนินการสำรวจทางพื้นดินและทางอากาศเพื่อจัดทำและผลิตแผนที่และภูมิสารสนเทศ สำหรับใช้ในการรักษาความมั่นคง และการพัฒนาประเทศ ดำเนินการเกี่ยวกับงานยีออเดซีและยีออฟิสิกส์ ตลอดจนการดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกศึกษาในสายวิทยาการเหล่าทหารแผนที่ มีเจ้ากรมแผนที่ทหาร เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

 

วิสัยทัศน์

เป็นองค์กรชั้นนำในการสำรวจและจัดทำข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศของประเทศ

 

เจตนารมณ์

ยึดถือนโยบายของรัฐบาล นโยบายของ รมว.กห. นโยบาย ผท.ทสส. โดยยึดมั่นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

คุณสมบัติของผู้สมัคร

- สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.2 ตลอดช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 )
- เป็นชายโสด ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 20 ปี (ผู้ที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2541 - พ.ศ.2543)
- มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดามารดามีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตรหรือนายทหารประทวน ซึ่งมัสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้

 

การจำหน่ายใบสมัคร

- สั่งซื้อทางไปรษณีย์ ประมาณเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ (รายละเอียดเพิ่มเติมรอประกาศรับสมัครสอบ)
- ซื้อด้วยตนเอง ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ประมาณเดือน ธันวาคม - มีนาคม (เว้นวันหยุดราชการ)

การรับสมัคร

-สมัครด้วยตนเอง ณ โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ -  มีนาคม 
-สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์  

 

แผนที่โรงเรียนแผนที่ทหาร  กรมแผนที่ทหาร

 stsd map

 

อัลบั้มภาพน้องที่ติวกับ GCT

คอร์สติวก่อนสอบ ปี 62

ชื่อหลักสูตร ค่าใช้จ่าย  ระยะเวลา  ลงทะเบียน
       
หลักสูตร รร.เตรียมทหาร 4 เหล่า      
คอร์ส ติวเข้มสอบเข้าเตรียมทหาร 4 เหล่า ปี 62 (32วัน)  28,000 20 ก.พ.-23 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
คอร์ส เตรียมสอบเหล่า ตร.+ทร.+ทบ. ปี 62 (16วัน)  17,000  3-18 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
คอร์ส เตรียมสอบเหล่า ตร+ทร.+ทบ.+ทอ. ปี 62 (21วัน)  22,000  3-23 มี.ค.62  สมัครออนไลน์
เน้นเจาะข้อสอบ อาหาร3มือ มีที่พัก บริการซักผ้าฟรี พาไปสอบข้อเขียน มีพละช่วงเย็น 1600-1800 และวิชาการวันละ9ชม. มีติวสัมภาษณ์      
       
หลักสูตร รร.จ่าอากาศ      
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าอากาศ ปี 62 (12 วัน) 15,000 9-20 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าอากาศ ปี 62 (5 วัน) 7,000 16-20 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
       
หลักสูตร รร.จ่าทหารเรือ      
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าทหารเรือ ปี 62 (13 วัน) 16,000 24 ก.พ.-8 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.จ่าทหารเรือ ปี 62 (7 วัน) 9,000 2 - 8 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
       
หลักสูตร รร.นายสิบทหารบก      
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.นายสิบทหารบก ปี 62 (15 วัน) 18,500 2 - 16 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
คอร์ส ติวก่อนสอบ รร.นายสิบทหารบก ปี 62 (8 วัน) 10,500 9 - 16 ก.พ.62 สมัครออนไลน์
       
หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่)      
คอร์ส ติวก่อนสอบ หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่) ปี 62 (15 วัน) 18,500 24 ก.พ.-10 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
คอร์ส ติวก่อนสอบ หลักสูตร รร.นายสิบ(แผนที่) ปี 62 (9 วัน) 10,500 2 - 10 มี.ค.62 สมัครออนไลน์
       
หลักสูตร ช่างฝีมือทหาร      

คอร์สติวก่อนสอบ ช่างฝีมือทหาร ปี 62

เรียนวัน เสาร์ - อาทิตย์ วันที่ 2 -3 , 9-10 , 16-17 , 23-24 ก.พ.62 และ 2-3 มี.ค.62

12,500

 

2 ก.พ. - 3 มี.ค.62

 

สมัครออนไลน์

 

หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า และพาไปสอบข้อเขียน      
       
หลักสูตร นักเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค      
คอร์ส ติวก่อนสอบ นักเรียนช่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ปี 62
หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า และพาไปสอบข้อเขียน
28,500 3 - 31 มี.ค.62 สมัครออนไลน์

 

 

คอร์สเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ปี 62

ชื่อหลักสูตร ค่าใช้จ่าย  ระยะเวลา  ลงทะเบียน
       
หลักสูตรปูพื้นฐาน (ป.6 ขึ้น ม.1 และ ม.1 ขึ้น ม.2) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
หลักสูตรไฟฟ้าล่วงหน้า (ม.2 ขึ้น ม.3) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
หลักสูตรเตรียมทหารล่วงหน้า (ม.3 ขึ้น ม.4 และ ม.4 ขึ้น ม.5) 15,000 20 เม.ย. - 4 พ.ค.62 สมัครออนไลน์
หมายเหตุ ราคารวม อาหาร ที่พัก ซักผ้า      

  อ่านรายละเอียดหลักสูตร

ชมบรรยากาศ

 

วิชาที่ออกข้อสอบตำรวจ (ล่าสุด)


การสอบข้อเขียน ข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 150 ข้อ 150 คะแนน ใช้เวลาทำข้อสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย


1. ความสามารถทั่วไป จำนวน 30 ข้อ

ทดสอบความรู้ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล ความคิดเชิงจำนวน โดยใช้ข้อมูลหรือปัญหาทางสังคม หรือทางเศรษฐกิจ หรือทางอื่นที่เหมาะสม การคิดเชิงเหตุผล ประกอบด้วยการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ อุปมาอุปไมย อนุกรม และมิติสัมพันธ์ ความสามารถในการคิดเชิงจำนวน ประกอบด้วยคณิตศาสตร์พื้นฐาน ได้แก่ การคำนวนขั้นพื้นฐาน เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ การแก้สมการและอสมการ เซต ตรรกศาสตร์ และสถิติพื้นฐาน ได้แก่การแจกแจงความถี่ ตาราง กราฟ การหาค่ากลาง และการวัด การกระจาย

 

2. ภาษาไทย จำนวน 25 ข้อ

ทดสอบความสามารถการใช้ภาษาและความเข้าใจภาษา ได้แก่ ทักษะการใช้ภาษาด้านการอ่าน การเขียน และการสื่อสารอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ถ้อยคำ สำนวน การใช้คำให้ตรงกับความหมาย กฎเกณฑ์และความนิยม การจับใจความ วิเคราะห์ความ สรุปความ หรือตีความจากข้อความสั้นๆ หรือจากบทความ การพิจารณาเลือกใช้ภาษาในงานเขียนรูปแบบต่างๆ

 

3. ความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 25 ข้อ

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทักษะการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายต่าง ๆ

 

4. ภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ) จำนวน 30 ข้อ

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการอ่านจับใจความ (Reading for Comprehension) คำศัพท์ (Vocabulary) โครงสร้างของประโยคต่างๆ (Structure Sentence) หลักไวยากรณ์ (Grammar) และการสนทนา (Conversation) เป็นต้น

 

5. สังคม วัฒนธรรมและจริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จำนวน 20 ข้อ

ทดสอบความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม หลักศิลธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตในสังคมและการปฏิบัติงาน และหลักธรรมาภิบาล และความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

 

6. กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ จำนวน 20 ข้อ

ทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ที่ประชาชนควรรู้

 

*** คำแนะนำในการเตรียมอ่านหนังสือติวสอบตำรวจ

 

***ท่านจะไม่พลาดข่าว เพียงติดตามเราที่
https://www.facebook.com/greatcadettutor/

 

 สนใจสมัครเรียน / สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดรับสมัครและคัดเลือก บุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า

เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ (นสต.) จำนวน 5,200 อัตรา  ประกาศรับสมัคร ระหว่างวันที่ 25 – 28 ต.ค.61 รับสมัครทางเว็บไซต์ ระหว่างวันที่ 30 ต.ค. – 6 พ.ย.61
www.policeadmission.org 
กรุณาอ่านรายละเอียดในประกาศรับสมัครฯ ให้ครบถ้วนและเข้าใจ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกหน่วยรับสมัคร (สามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 หน่วยเท่านั้น)

1.

รับสมัครบุคคลภายนอก เป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ.2561 จำนวน 5,200 อัตรา (นสต.) 

ภ.1, ภ.2, ภ.3, ภ.4, ภ.5, ภ.6, ภ.7, ภ.8, ภ.9, บช.ตชด. และ บช.น.

รับสมัครและคัดเลือกบุคคลภายนอกผู้มีวุฒิประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือเทียบเท่า เพื่อบรรจุเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ พ.ศ. 2561
       ประกาศรับสมัครฯ 

       รับสมัคร

       พิมพ์บัตรประจำตัวสอบ และใบสมัคร