กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐)
ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๑ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิก
(๑) |
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ |
(๒) |
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ.๒๕๒๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ |
ข้อ ๒ โรคหรือสภาพร่างกาย หรือสภาพจิตใจ ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้ตาม มาตรา ๔๑ คือ
(๑) |
โรคหรือความผิดปกติของตา |
(ก) |
ตาข้างหนึ่งข้างใดบอด คือเมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ ต่ำกว่า ๓/๖๐ หรือ ลานสายตาโดยเฉลี่ย แคบกว่า ๑๐ องศา |
(ข) |
สายตาไม่ปกติ คือเมื่อรักษา และแก้สายตาด้วยแว่นแล้ว การมองเห็น ยังอยู่ในระดับ ๖/๒๔ หรือต่ำกว่า ทั้งสองข้าง |
(ค) |
สายตาสั้นมากกว่า ๘ ไดออปเดอร์ หรือสายตายาวมากกว่า ๕ ไดออปเดอร์ทั้งสองข้าง |
(ง) |
ต้อแก้วตาทั้งสองข้าง (Bilateral Cataract) |
(จ) |
ต้อหิน (Glaucoma) |
(ฉ) |
โรคขั้วประสาทตาเสื่อมทั้ง ๒ ข้าง (Optic Atrophy) |
(ช) |
กระจกตาอักเสบเรื้อรังหรือขุ่นทั้งสองข้าง |
(๒) |
โรคหรือความผิดปกติของหู |
(ก) |
หูหนวกทั้งสองข้าง คือต้องใช้เสียงในช่วงคลื่นความถี่ ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ รอบ ต่อวินาทีหรือมากกว่า ๕๕ เดซิเบล จึงจะได้ยินทั้งสองข้าง |
(ข) |
หูชั้นกลางอักเสบ เรื้อรังทั้งสองข้าง |
(ค) |
เยื่อแก้วหูทะลุ ทั้งสองข้าง |
(๓) |
โรคของหัวใจและหลอดเลือด |
(ก) |
หัวใจหรือหลอดเลือดพิการ อย่างถาวร จนอาจอันตรายร้ายแรง |
(ข) |
ลิ้นหัวใจพิการ |
(ค) |
การเต้นของหัวใจผิดปกติ อย่างถาวร จนอาจเกิดอันตรายร้ายแรง |
(ง) |
โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ชนิดที่ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และ อาจเป็นอันตราย |
(จ) |
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง |
(ฉ) |
หลอดเลือดภายในกระโหลกศีรษะ โป่งพอง หรือผิดปกติ ชนิดที่อาจเป็นอันตราย |
(๔) |
โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด |
(ก) |
โรคเลือด หรือ อวัยวะสร้างเลือด ผิดปกติ อย่างถาวร และอาจเป็นอันตราย |
(ข) |
ภาวะม้านโต (Hyperspleenism) ที่รักษาไม่หาย และ อาจเป็นอันตราย |
(ก) |
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Diseases) |
(ข) |
โรคหลอดลมพอง (Brrooonchiectasis) |
(ค) |
โรคหืด (Asthma) |
(ง) |
โรคของระบบหายใจ ที่ทำให้สมรรถภาพปอด ลดลง อย่างถาวรจน Forced Expiratory Volume in One Second ต่ำกว่า ๒ ลิตร หรือ Forced Vital Capacity ต่ำกว่าร้อยละ ๖๐ ของค่าปกติ |
(๖) |
โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ |
(ก) |
ไตอักเสบ เรื้อรัง |
(ข) |
กลุ่มอาการไตพิการ (Nephritic Syndrome) |
(ค) |
ไตวาย เรื้อรัง |
(ง) |
ไตพองเป็นถุงน้ำ แต่กำเนิด (Polycystic Kidney) |
(๗) |
โรคหรือความผิดปกติ ของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ |
(ก) |
ข้ออักเสบเรื้อรัง จนกระดูกเปลี่ยนรูป |
(ข) |
แขน ขา มือ เท้า นิ้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง ผิดปกติ ดังต่อไปนี้ |
๑. |
แขน ขา มือ หรือเท้า ด้วน หรือพิการ ถึงแม้ว่าจะรักษา ด้วยวิธีใหม่ที่สุด แล้วก็ยังใช้การไม่ได้ |
๒. |
นิ้วหัวแม่มือด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๓. |
นิ้วชี้ของมือด้วน ตั้งแต่ข้อปลายนิ้ว |
๔. |
นิ้วมือในมือข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๕. |
นิ้วหัวแม่เท้าด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๖. |
นิ้วเท้าในเท้าข้างเดียวกันตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๗. |
นิ้วเท้าในเท้าแต่ละข้างตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อปลายนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
๘. |
นิ้วเท้าในเท้าข้างใดข้างหนึ่งตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปด้วน จนถึงข้อโคนนิ้ว หรือพิการ ถึงขั้น ใช้การไม่ได้ |
(ค) |
คอเอียงหรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร |
(ง) |
กระดูกสันหลังโก่ง หรือคดหรือแอ่น จนเห็นได้ชัด หรือแข็งทื่อ ชนิดถาวร |
(จ) |
กล้ามเนื้อเหี่ยวลีบหรือหดสั้น (Atrophy or Contractuure) จนเป็นผลให้ อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด ใช้การไม่ได้ |
(๘) |
โรคของต่อมไร้ท่อ และภาวะผิดปกติ ของเมตะบอลิสัม |
(ก) |
ภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อยไป อย่างถาวร |
(ข) |
ภาวะต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานน้อย ไปอย่างถาวร |
(ค) |
ภาวะต่อมใต้สมองผิดปกติ อย่างถาวร |
(ง) |
เบาหวาน |
(จ) |
ภาวะอ้วน (Obesity) ซึ่งมีค่าดัชนี ความหนาของร่างกาย (Body MassIndex) ตั้งแต่ ๓๕ กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป |
(ฉ) |
โรคหรือความผิดปกติ เกี่ยวกับ เมตะบอลิสัม ของแร่ธาตุ สารอาหาร ดุลยสาร น้ำ อีเล็กโทรลัย และกรดด่าง ตลอดจน เมตะบอลิสัมอื่น ๆ ชนิดถาวร และอาจเป็นอันตราย |
(ก) |
โรคเรื้อน |
(ข) |
โรคเท้าช้าง |
(ค) |
โรคติดเชื้อเรื้อรัง ระยะแสดงอาการรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ |
(ก) |
จิตเจริญล่าช้า (Mental Retardation) ที่มีระดับเชาว์ปัญญา ๖๙ หรือต่ำกว่านั้น |
(ข) |
ใบ้ (Mutism) หรือพูดไม่เป็นภาษา หรือฟังภาษาไม่รู้เรื่อง (Aphasia) ชนิดถาวร |
(ค) |
ลมชัก (Epilepsy) หรือโรคที่ทำให้มีอาการชัก (Seizures) อย่างถาวร |
(ง) |
อัมพาต (Paralysis) ของ แขน ขา มือ หรือเท้าชนิดถาวร |
(จ) |
สมองเสื่อม (Dementia) |
(ฉ) |
โรคหรือความผิดปกติ ของสมอง หรือไขสันหลัง ที่ทำให้เกิด ความผิดปกติ อย่างมาก ในการเคลื่อนไหว ของแขนหรือขา อย่างถาวร |
(ช) |
กล้ามเนื้อหมดกำลังอย่างหนัก (Myasthenia Gravis) |
(ก) |
โรคจิต หรือโรคที่ทำให้จิต ผิดปกติ อย่างรุนแรง และถาวร |
(ก) |
กระเทย (Hermaphrodism) |
(ข) |
มะเร็ง (Malignant Neoplasm) |
(ค) |
โรคตับอักเสบเรื้อรัง ชนิดร้ายแรง (Chronic Active Hepatitis) |
(ง) |
ตับแข็ง (Cirrhosis of Liver) |
(จ) |
คนเผือก (Albino) |
(ฉ) |
โรคลูปัสอิธิมาโตซัส ทั่วร่างกาย (Systemic Lupus Erythematosus) |
(ช) |
กายแข็ง ทั่วร่างกาย (Systemic Sclerosis) |
(ซ) |
รูปวิปริตต่าง ๆ ได้แก่ |
๑. |
จมูกโหว่ |
๒. |
เพดานโหว่หรือสูง หรือลิ้นไก่สั้น พูดไม่ชัด |
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
(ลงชื่อ) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
(ชวลิต ยงใจยุทธ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(ลงชื่อ) เสนาะ เทียนทอง
(นายเสนาะ เทียนทอง)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน การกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้จึงยังไม่สอดคล้องกับสภาพของความพิการทุพพลภาพ หรือ โรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้การกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรคเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงการกำหนดความพิการทุพพลภาพ หรือโรค ซึ่งไม่สามารถจะรับราชการทหารได้เสียใหม่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ (กฎกระทรวง ฯ นี้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๘ ก ลง ๓ มิ.ย.๔๐ หน้า ๑๑)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ โรงเรียนเตรียมทหาร http://www.afaps.ac.th